::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: จัดทำด้วยนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

                                  
การป้องกันและรักษาโรค
       โดยทั่วไป การเลี้ยงไก่แบบชาวบ้านแต่ละปีจะเกิดโรคระบาดเป็นสาเหตุ
ทำให้ไก่ตายปีละมาก ๆ บางครั้งอาจตายเกือบทั้งหมู่บ้านทั้ง ๆ ที่ไก่บ้านเป็น
พันธุ์ที่ค่อนข้างจะทนทานต่อโรคเมื่อเทียบกับพันธุ์แท้อื่น ๆ ก็ตาม ดังนั้นถ้า
หากสามารถลดอัตราการตายได้จะยังผลทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นส่วน
ไก่ลูผสมพันธุ์โรคกับไก่พื้นบ้านเมื่อจะนำไปเลี้ยงแบบชาวบ้านก็จำเป็นหาทาง
ป้องกันโรคไว้ก่อนเสมอ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ๆ
       1. การทำวัคซีน
      การทำวัคซีนจะทำเป็นการกระตุ้ให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับสิ่ง
แปลกปลอมที่มีชีวิต ที่บุกรุกเข้าไปดังนั้นวัคซีนก็คือสิ่งแปลกปลอมที่ถูกทำ
ให้อ่อนแรงหรือถูกทำให้ตายแวก็ได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอม
เหล่านี้ก็จะเริ่มสร้างภูมิต้านทานขึ้นต่อต้านกับสิ่งแปลกปลอมชนิดนั้น ๆ ที่เจาะจง
ซึ่งปัจุจบันมีวัคซีนหลายชนิดด้วยกันที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับป้องกันโรค   
ไก่แต่ก็มีโรคไก่อีกหลายโรคที่ยังไม่สามารถจะผลิตเป็นวัคซีนออกมาใช้ได้
ข้อควรปฎิบัติหรือข้อควรจำในขณะที่ให้วัคซีนไก่คือ
    1. ต้องทำวัคซีนในขณะที่ไก่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงเท่านั้น
    2. ควรทำวัคซีนในขณะทีอากาศเย็นสบาย คือ ช่วงเช้า หรือเย็น การทำ
      วัคซีนในขณะที่อากาศร้อน จะสร้างภาวะเครียดกับไก่เพิ่มขึ้นและอาจ
      ก่อให้เกิดความสูญเสียได้มาก 
   3. การให้วัคซีนควรปฎิบัติตามคำแนะนำของชนิดวัคซีนนั้น ๆ ว่าจะให้ได้
      ในทางใดบ้าง เช่น ให้โดยวิธีการแทงปีก หรือวิธีการหยอดจมูก
   4. ก่อนและหลังการทำวัคซีน 1 วัน ควรละลายยาป้องกันความเครียดให้ไก่กิน
   5. วัคซีนควรเก็บในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตามชนิดของวัคซีนนั้น ๆ
    6. วัคซีนที่ผสมเสร็จแล้วควรรีบนำไปไก่ทันที่ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะ
      วัคซีนจะเสื่อม และไม่ควรให้แสดงแดดส่องถูกวัคซีนโดยตรง
   7. ขวดวัคซีนที่ไช้แลัวควรนำไปฝังดินลึกๆหรือนำไปเผาหรือต้มไห้เดือดก่อนทิ้ง
   8. ควรจำไว้ว่าการทำวัคซีนนั้นไม่ได้หมายถึงว่าจะให้ผลป้องกันโรคไดั 100
      เปอร์เซ็นต์ เพราะผลขึ้นอยู่กับปัจจัยอื้น ๆ อีกมาก
 
 

   

 
 
 
 
 
 
 

สนใจติดต่อเว็บมาสเตอร์

083-1687647, 08-57992556  

www.chickenfarm.ueuo.com

Free Web Hosting